บาคาร่าเว็บตรง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม รายงาน ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ถ้าพนักงานติดโควิด-19 แล้วต้องกักตัว 14 วัน บริษัทมีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินเดือน เพราะถือว่าขาดงาน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการโพสต์ที่ระบุว่า ถ้าพนักงานออกนอกเคหสถานแล้วติดโควิด-19 ต้องกักตัว 14 วัน บริษัทมีสิทธิ์ถือว่าขาดงาน
และไม่จ่ายเงินเดือนได้ ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า กรณีลูกจ้างติดโควิด-19 และต้องกักตัว 14 วัน ให้ถือว่าลูกจ้างอยู่ในสถานะป่วย และสามารถใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือใช้สิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ดังนั้น ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานี้ ทั้งนี้ หากต้องใช้เวลากักตัวมากกว่า 14 วัน ก็ยังถือเป็นการลาป่วยเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของโรค และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย
หรือในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยในรอบปีครบ 30 วันแล้ว รวมทั้งลาหยุดพักผ่อนประจำปีครบแล้ว หากทางราชการมีคำสั่งให้หยุดเพื่อดูอาการ 14 วัน หรือบริษัทมีคำสั่งให้หยุดดูอาการถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้ โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างได้ แต่จะถือว่าขาดงานไม่ได้ ให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิเงินทดแทนจากประกันสังคมตามสิทธิที่พึงได้ตามหลักเกณฑ์ที่สปส. กำหนดนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.labour.go.th หรือโทร 1546 หรือ 1506 กด 3
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : หากลูกจ้างติดโควิด-19 และต้องกักตัว 14 วัน ให้ถือว่าลูกจ้างอยู่ในสถานะป่วย และสามารถใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือใช้สิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ดังนั้น ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานี้
พบ ‘โควิดสายพันธุ์อินเดีย’ แล้วในไทย มาจากปากีสถาน โดยตรวจพบระหว่างอยู่ใน State Quarantine
โควิดสายพันธุ์อินเดียเข้าไทย – รายงานสถานการณ์โควิด-19 ในไทยวันนี้ 10 พ.ค. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. ได้รายงานในตอนนี้ของการแถลงโควิดรายวันว่า พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย (Indian B1617.1) รายแรกในประเทศไทย โดยพบใน State Quarantine ตรวจพบเชื้อเมื่อ 9 พ.ค. 64
ผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย เป็นหญิงไทยอายุ 42 ปี ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ ได้เดินทางเข้าไทยพร้อมลูกชาย 3 คน อายุ 4 6 และ 8 ปี เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา โดยก่อนเข้าไทย พำนักอยู่ทีปากีสถาน และแวะพักเครื่องที่ดูไบ
ธ.ก.ส. ขยายเวลารับทำ ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564
ธ.ก.ส. ขยายระยะเวลาเปิดรับทำ ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 ไปสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ในพื้นที่ 42 จังหวัด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย ธ.ก.ส. ขยายระยะเวลาเปิดรับทำ ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564ไปสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ในพื้นที่ 42 จังหวัด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
โดย รัฐบาลสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย และกรณีเป็นลูกค้าที่ใช้สินเชื่อกับ ธ.ก.ส. จะได้รับเงินสมทบค่าเบี้ยประกันภัยฟรีสามารถซื้อหรือตรวจสอบการทำประกันภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “BAAC INSURE” และที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา
นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่าตามที่ธ.ก.ส. ได้เปิดโครงการประกันภัยข้าวนาปีปีการผลิต 2564 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการสร้างภูมิคุ้มกันและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการผลิตโดยใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนั้น เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระลอกใหม่ ซึ่งกระจายตัวอย่างรวดเร็ว
ธ.ก.ส. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้หารือร่วมกัน และเห็นชอบในการขยายระยะเวลาในการขายกรมธรรม์โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564
สำหรับจังหวัดอื่น ๆ ยังคงสิ้นสุดตามระยะเวลาเดิม ได้แก่ กลุ่มที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, แพร่, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, ลําปาง, ลําพูน, อุตรดิตถ์, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, บึงกาฬ, มุกดาหาร, เลย, หนองบัวลําภู และชัยภูมิ
กรมธรรม์การประกันภัยข้าวนาปีในส่วนของการประกันภัยขั้นพื้นฐาน (Tier 1) อัตราค่าเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 55 บาทถึง 230 บาทต่อไร่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ความเสี่ยงโดยรัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 58 บาทต่อไร่ และกรณีเป็นเกษตรกรลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อ ธ.ก.ส.ธนาคารจะจ่ายสมทบส่วนที่เหลือให้เต็มจำนวน
ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับประกันภัยฟรี โดยให้ความคุ้มครองในกรณีเกิดภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม/ฝนตกหนัก ภัยแล้ง/ฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ/พายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาว/น้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และช้างป่า วงเงินคุ้มครองจำนวน 1,260 บาทต่อไร่ และในกรณีเกิดภัยศัตรูพืช/โรคระบาด วงเงินคุ้มครอง 630 บาทต่อไร่ เป้าหมายการทำประกันภัยบนพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ 46 ล้านไร่ บาคาร่าเว็บตรง